เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[521] ภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ขอมา หายอาพาธแล้ว
ฉัน 1 ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุขอต่อญาติ 1 ภิกษุขอ
ต่อคนปวารณา 1 ภิกษุขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น 1 ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์
ของตน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.

โภชนวรรค สิกขาบทที่ 9 จบ


ปณีตโภชนสิกขาบทที่ 9


ในสิกขาบทที่ 9 มีวินิจฉัยดังนี้.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องโภชนะอันประณีต]


บทว่า ปณีตโภชนานิ ได้แก่ โภชนะอย่างดียิ่ง.
คำว่า กสฺส สมฺปนฺนํ น มนาปํ ได้แก่ โภชนะที่ประกอบ
ด้วยคุณสมบัติ ใครจะไม่ชอบใจ.
บทว่า สาทู แปลว่า มีรสอร่อย.
ในคำว่า โย ปน ภิกฺขุ เอวรูปานิ ปณีตโภชนานิ อคิลาโน
อตฺตโน อตฺถาย วิญฺญาเปตฺวา ภุญฺเชยฺย
นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ
ขอโภชนะที่ดีล้วน ๆ มีสัปปิเป็นต้นมาฉัน ไม่ต้องปาจิตตีย์. ต้องทุกกฏเพราะ
ขอแกงและข้าวสุกในพวกเสขิยวัตร. แต่ภิกษุผู้ขอโภชนะดี ทีระคนกับข้าวสุก
มาฉัน บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องปาจิตตีย์.

ทราบว่า ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้:- ก็เพราะเหตุนั้นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปณีตานิ ตรัสในสูตรว่า ปณีตโภชนานิ.
จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า ปณีตานิ ย่อมรวมสัปปิเป็นต้นเข้าด้วย.
แต่เมื่อตรัสว่า ปณีตโภชนานิ เนื้อความย่อมปรากฏดังนี้ว่า โภชนะที่เกิดจาก
ธัญชาติ 7 ชนิด ระคนด้วยของประณีต ชื่อว่า โภชนะประณีต.
บัดนี้ ในคำว่า วิญฺญาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ เป็นต้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:- เมื่อภิกษุขอว่า ท่านจงให้ภัตกับเนยใส, จงราดเนยใสให้,
จงทำให้ระคนกับเนยใสแล้วให้, จงให้เนยใส จงให้เนยใสและภัต ดังนี้
เป็นทุกกฏ เพราะการออกปากขอ, เป็นทุกกฏ เพราะรับประเคน, เป็นปาจิตตีย์
เพราะกลืนกิน. แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้สัปปิภัต เพราะธรรมดาว่า
สัปปิภัตดุจสาลีภัต ไม่มี ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นทุกกฏ เพราะออก
ปากขอแกงและข้าวสุกอย่างเดียว.
ก็ถ้าเมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใส แต่ทายกถวายภัตแล้ว ถวาย
เนยขึ้น นมสด หรือนมส้ม ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด ก็
หรือถวายมูลค่ากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเอาเนยใสด้วยมูลค่านี้ฉันเถิด (เป็น
ปาจิตตีย์) ตามวัตถุทีเดียว.
แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใสโค ทายกจงถวายด้วยเนยใสโค
หรือเมื่อเนยใสโคไม่มี จงถวายเนยข้นโคเป็นต้นโดยนัยก่อนนั้นแล หรือจง
ถวายแม่โคทีเดียวก็ตามที กล่าวว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยเนยใสจากแม่โคนี้
(เป็นปาจิตตีย์) ตามวัตถุเหมือนกัน.
แต่ถ้าทายกถูกภิกษุขอด้วยเนยใสโค ถวายด้วยเนยใสของแพะเป็นต้น
เป็นอันผิดสังเกต. จริงอยู่ เมื่อมีการถวายอย่างนี้ จึงเป็นอันทายกถูกภิกษุขอ

อย่างหนึ่ง ถวายไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. แม้ในคำว่า
จงให้ด้วยเนยใสแพะ เป็นต้นก็นัยนี้.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยกัปปิยะเนยใส ทายกถวายด้วยอกัปปิยะ
เนยใส เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยอกัปปิยะ
เนยใส ทายกถวายด้วยกัปปิยะเนยใส เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งในการรับ
ทั้งในการบริโภค. เมื่ออกัปปิยะเนยใสไม่มี เขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยข้น
เป็นต้น โดยนัยก่อนนั้นแล ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด เป็น
อันเขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยใสแท้.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ด้วยอกัปปิยะเนยใส เขาถวายด้วยกัปปิยะเนยใส
เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อกล่าวว่า ด้วยเนยใส เขาถวายด้วยของ
อย่างใดอย่างหนึ่ง มีเนยข้น เป็นต้นที่เหลือ เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. แม้ใน
คำว่า จงถวายด้วยเนยข้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แท้จริง มีการออกปากขอด้วยวัตถุใด ๆ เมื่อภิกษุได้วัตถุนั้น หรือ
มูลค่าแห่งวัตถุนั้นแล้ว จัดว่าเป็นอันได้วัตถุนั้น ๆ แล้วเหมือนกัน. แต่ถ้าเขา
ถวายของอื่นที่มาในพระบาลี หรือมิได้มาก็ตาม เป็นผิดสังเกต. เมื่อภิกษุ
ออกปากขอด้วยเนยข้นเป็นต้นอย่างอื่น. ยกเว้นเนยข้นที่มาในพระบาลีเป็นต้น
เสีย เป็นทุกกฏ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้
สัปปีภัต การออกปากขอแกงและข้าวสุก เป็นทุกกฏเท่านั้น เพราะสัปปิภัต
ไม่มีเหมือนสาลีภัต ฉันใด แม้ในคำว่า จงให้นวนีตภัต เป็นต้นก็ฉันนั้น
(คือเป็นเพียงทุกกฏฉันนั้น).
จริงอยู่ แม้เมื่อจะกล่าวเนยขึ้นเป็นต้นแต่ละอย่างให้พิสดารตามลำดับ
(แห่งเนยขึ้น) ก็จะต้องกล่าวเนื้อความนี้นั่นและ. และเนื้อความพิสดารนั้น

บัณฑิตอาจรู้ได้แม้ด้วยความสังเขป, จะมีประโยชน์อะไรด้วยความพิสดารใน
เนยข้นแต่ละอย่างเป็นต้นนั้น. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า แม้ในคำว่า
จงให้ด้วยเนยขึ้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ถ้าภิกษุออกปากขอในที่เดียวกัน หรือในทำต่างกัน ด้วยวัตถุมีเนย-
ใสเป็นต้นแม้ทั้งหมด เทของที่ได้แล้วลงในภาชนะเดียวกันทำให้เป็นรสเดียวกัน
แม้เอาปลายหญ้าคาแตะหยดลงที่ปลายลิ้นหยดเดียว จากรสนั้นแล้วกลืนกิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 9 ตัว. สมจริงดังคำแม้นี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
คัมภีร์ปริวารว่า
ภิกษุต้องปาจิตตีย์ที่เป็นไปทางกาย มิใช่
เป็นไปทางวาจาทั้งหมด (9 ตัว) มีวัตถุ
ต่าง ๆ กัน พร้อม ๆ กัน คราวเดียว, ปัญหา
ข้อนี้ท่านผู้ฉลาดคิดกันแล้ว.

ในคำว่า อคิลาโน คิลานสญฺญี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ
แม้เป็นผู้มีความสำคัญว่าอาพาธ ออกปากขอเภสัช 5 เพื่อประโยชน์แก่เภสัช,
พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยมหานามสิกขาบท. แต่เมื่อออกปากขอโภชนะ
ประณีต 9 อย่าง พึงปรับด้วยสิกขาบทนี้ . แต่โภชนะประณีต 9 อย่างนั้น เป็น
ปาฏิเทสนียวัตถุสำหรับพวกภิกษุณี. ในเพราะการออกปากขอแกงและข้าวสุก
เป็นทุกกฏที่ตรัสไว้ในเสขิยบัญญัติเท่านั้น แก่ภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง 2 พวก.
บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 4 เกิดจากทางกาย 1 ทางกายกับวาจา 1
ทางกายกับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ปณีตโภชนะ สิกขาบทที่ 9 จบ

โภชนวรรค สิกขาบทที่ 10


เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[522] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร
ศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มีปกติถือ
ของทุกอย่างเป็นบังสกุล สำนักอยู่ในสุสานประเทศ ท่านไม่ปรารถนาจะรับ
อาหารที่ประชาชนถวาย เที่ยวถือเอาอาหารเครื่องเซ่นเจ้าตามป่าช้าบ้าง ตาม
โคนไม้บ้าง ตามธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง ประชาชนต่างก็เพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุนี้จึงได้ถือเอาอาหารเครื่องเช่นเจ้าของพวกเราไปฉัน
เองเล่า ภิกษุนี้อ้วนล่ำ บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้
กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า . . . แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า
เธอกลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก จริงหรือ.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่